วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สมุดผ้าทำมือ : ประโยชน์ของการจดบันทึก ( Note Taking )


" การจดบันทึก " ตรงกับภาษาอังกฤษว่า " NOTE TAKING " หมายถึง การเขียนข้อความ เพื่อการเรียบเรียงความคิด  เพื่อเตือนความเข้าใจ  เพื่อก่อให้เกิดความสนใจในเรื่องที่ได้ฟังหรือได้อ่านไปแล้ว  และเพื่อเตือนความจำ






  การจดบันทึกมีประโยชน์อย่างมากกับบุคคลทุกเพศ  ทุกวัย  ทุกอาชีพที่สามารถอ่านออก เขียนได้  และฟังเสียงได้  โดยเฉพาะกับนักเรียน  นิสิต  นักศึกษาที่สามารถอ่านออกเสียงได้ เพราะบุคคลเหล่านี้ร้องฟังคำบรรยายจากผู้สอนและวิทยากร  ต้องอ่านตำราและหนังสือประกอบวิชาทีเรียน ฉะนั้นถ้าเขาเหล่านั้นฟังคำบรรยายหรืออ่านเพียงอย่างเดียวโดยไม่ใช้เทคนิค "การจดบันทึก" อันเป็นการจดย่อความที่เป็นขั้นตอนและถูกต้องอาจทำให้เขามีความคิดที่สับสนและมีความจำเรื่องราวที่อ่าน ที่ฟัง  คลาดเคลื่อนหรือไม่รับรู้ หรือไม่เข้าใจในเรื่องที่อ่าน ที่ฟัง ซึ่งจะเป็นผลให้การเรียนตกต่ำลงก็เป็นได้
การจดบันทึกมีประโยชน์หลายประการ ดังต่อไปนี้
     1.การจดบันทึกช่วยให้เกิดความสนใจ  จากประสบการณ์พบว่า  หลังจากที่มีการอ่านและการฟังผ่านพ้นไประยะเวลาหนึ่ง ผู้อ่านและผู้ฟังจะรู้สึกไม่มีสมาธิจิตใจกระเจิดกระเจิง คิดฟุ้งซ่า ซึ่งทำให้การอ่านและการฟังลดน้อยลงหรือไม่ได้ผล ดังนั้นถ้าได้ใช้เทคนิคของการจดบันทึกเข้าช่วย  จะทำให้สามารถเรียกสภาวะอารณ์ ความคิดและจิตใจ  ให้กลับมาสนใจในสิ่งที่กำลังที่กำลังอ่านและกำลังฟัง
              ขณะนี้พบว่า  ในห้องบรรยาย  นิสิต นักศึกษา  นิยมนำเครื่องบันทึกเสียง ( เทป) มาอัดคำบรรยายของผู้สอนเพราะ.คิดว่า เป็นวิธีที่ดีทีสุดที่สุดที่จะจดจำบรรยายได้ทุกขั้นตอนและทุกคำพูด  ในขณะที่เทปกำลังทำงานอยู่นั้น ตนเองก็ไม่ให้ความสนใจกับคำบรรยายเพราะมีความเชื่อว่าเทปสามารถบันทึกทุกอย่างที่ผู้สอนบรรยาย  เมื่อมีเวลาว่างจึงจะเอาเทปมาเปิดฟังก็ได้ด้วยเหตุนี้  ในขณะที่ผู้สอนบรรยาย  เขาจึงไม่ตั้งใจฟัง
การฟังคำบรรยายจากเทปก็มิเป็นเครื่อง พิสูจน์ว่าเขาจะให้ความสนใจกับแถบบันทึกเสียงได้ตลอดไป  หรือจำเรื่องราวจากเทปได้ทั้งหมด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะใน ขณะอัดเทปมีเสียงรถ  เสียงกระแอมกระไอ และเสียงอื่น ๆ ถูกอัดเข้ามาด้วยหรือบางทีเสียงในเทปไม่ชัดเจน  เพราะเทปยืด  หรือแบ็ตเตอรี่ไม่ดี  ทำให้เสียงพร่าจนฟังไม่รู้เรื่อง  การฟังคำบรรยายซึ่งอัดจากเทป จึงไม่สามารถเรียกร้องทำให้ผู้ฟังสนใจได้
 



              2.การจดบันทึกช่วยให้เกิดการเรียบเรียงทางความคิด  การจดบันทึกในขณะที่อ่าน  และฟัง  จะช่วยให้เกิดการเรียบเรียงทางความคิด  ถ้านำการจดบันทึกของนิสิตนักศึกษา มาพิจารณา  มาพิจารณาและจัดกลุ่มความสามารถและบุคคลิกภาพของผู้จดบันทึก จะแบ่งได้ 3 กลุ่มคือ


              กลุ่มผู้มีความกระตือรือร้นมาก

             นักเรียน  นิสิตนักศึกษา ในกลุ่มนี้มีความกระตือรือร้นมากเกินไป  ดังจะเห็นได้จากลักษณะการจดบันทึก  คือ มีการจดบันทึกอย่างละเอียดมากเกินความจำเป็น  เช่น มีการจดและคัดลอกข้อความจากต้นฉบับเป็นตอน ๆ โดยไม่มีการสรุปประเด็นที่เป็นข้อความสำคัญ  การจดบันทึกประเภทนี้จึงไม่ช่วยให้เกิดการเรียบเรียงทางความคิด
             กลุ่มผู้มีความกระตือรือร้นน้อย
             กลุ่มนี้ชอบจดบันทึกให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้  โดยการใช้สัญลักษณ์แทนข้อความต่าง ๆ มากมาย  จนบางครั้งนึกไม่ออกว่าสัญลักษณ์ที่ตนใช้นั้น หมายความว่าอะไร  ลักษณะเด่นของกลุ่มผู้มีความกระตือรือล้นน้อยอีกประการหนึ่งคือ  ชอบจดบันทึกข้อความตามที่ตนชอบ  โดยมิได้คำนึงว่าสิ่งที่จดบันทึกนั้นมีสาระสำคัญสมควรจดหรือไม่
             กลุ่มผู้ที่มีความสามารถในการจดบันทึก
  เป็นกลุ่มที่มีความสามารถในการจดเนื้อหาสำคัญที่ได้ฟังและได้อ่านอย่างครบถ้วน  มีการเรียบเรียงความคิดในการอ่าน การฟัง  เป็นลำดับ เป็นขั้น เป็นตอน  การจดลักษณะนี้มีส่วนช่วยในการเรียนอย่างมาก
              3. การจดบันทึกช่วยให้เกิดความจำ
การจดบันทึกเป็นกิจกรรมของกล้ามเนื้อ  ซึ่งก่อให้เกิดความทรงจำอยางดียิ่ง  การจดบันทึกช่วยให้เกิดความทรงจำในสิ่งต่าง ๆ ที่เขียนลงไป รวมทั้งการจดบันทึกมีประสิทธิภาพมากกว่าการฟัง  หรือ การอ่าน แต่เพียงอย่างเดียว
   นักเรียน  นิสิตนักศึกษาบางคน แสดงความเห็นแย้งว่า  การจดบันทึกในขณะอ่าน หรือที่ได้ยิน ทำให้สมาธิในการอ่าน  และการฟังเสียไป  ทั้งนี้เนื่องจากเขาต้องตั้งใจจดจ่อกับการจดบันทึก  แสดงว่าเขาไม่มีทักษะในการจดบันทึก
  การจดบันทึกมิได้หมายถึงการจดทุกตัวอักษรที่ผู้สอนอธิบาย  ตรงกันข้ามควรจดเฉพาะสาระสำคัญเท่านั้น  จากการทดลองทางจิตวิทยา พบว่า  การอ่านและการฟังอย่างเดียวโดยตลอดเมื่ออ่านและฟังจบแล้ว คน ๆ  นั้น  จะจำสิ่งที่อ่านและฟังได้ไม่หมด


เครดิตเนื้อหา , ที่มา : http://socialfriends-52.exteen.com/page-3 โดย. นางสาวระพีพรรณ ดอยฟ้ากว้าง 

วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สมุดปกผ้าขาวม้า ทำมือ : ขนาด , รายละเอียด ฯลฯ

สมุดทำมือ
สมุดปกผ้าขาวม้า ทำมือ

รายละเอียด

1. เป็นกระเป๋าสตางค์ในตัว มีซิปเก็บเงินด้านใน  ใส่นามบัตรก็ได้
2. ขนาด 16 x  22 Cm. ( เท่า Pocket Book )
3. ปกผ้าขาวม้า  เป็นผ้าฝ้ายแท้เกรด A
4. มีแถบตีนตุ๊กแกติดด้านใน
5. ใช้กระดาษไม่มีเส้น  แบบถนอมสายตา
6. งานคัดเกรดส่งออกต่างประเทศทุกชิ้น
7. เหมาะสำหรับเป็นของขวัญ-ของฝาก ชาวต่างชาติ , ผู้ใหญ่ หรือ คนรุ่นใหม่ที่ชอบดีไซน์ย้อนยุค
8. งานทำมือ Thailand Handmade ส่งเสริมสนับสนุนอนุรักษ์ผ้าไทย , ศิลปวัฒนธรรมไทย อันทรงคุณค่า

***** รับสั่งทำ สำหรับขายส่ง จำนวนมาก งานไว
    บริการ จัดส่ง ทั้งใน และ ต่างประเทศ  
    โทร         0877733170
    ไลน์ ไอดี Fin.Paritya
    ( หมายเหตุ : ลายผ้ามีการเปลี่ยนใหม่ตลอด  สามารถขอดูแบบที่มีได้ )